ประวัติความเป็นมา


ประวัติตำบลหอมเกร็ด

ประวัติความเป็นมา : ตำบลหอมเกร็ด    ตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยโบราณไม่ปรากฎหลักฐานที่แน่นอนว่าตั้งขึ้นมาตั้งแต่สมัยใด ทราบแต่เพียงว่าเป็นตำบลหนึ่งในมณฑลนครชัยศรี  ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งในตำบลหอมเกร็ด  จังหวัดนครปฐม  ตำบลหอมเกร็ด  ตั้งอยู่สองฟากแม่น้ำท่าจีนหรือแม่น้ำนครชัยศรีมีความอุดมสมบูรณ์มากสองฝั่ง เต็มไปด้วยพืชพันธุ์ไม้   พืชผัก   ส่วนผลไม้นานาชนิด  เช่น  ส้มโอ  มะพร้าวน้ำหอม  ฝรั่ง  เป็นต้น
         ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านในตำบลหอมเกร็ด จากหนังสือเรื่อง  "หอมกรุ่นที่หอมเกร็ด"   ได้กล่าวถึงประวัติของหมู่บ้านในตำบลหอมเกร็ดไว้รวม  6  หมู่บ้าน  ซึ่งในแต่ละหมู่บ้านจะมีตำนานหรือเรื่องเล่าถึงที่มาของหมู่บ้านไว้ดังนี้ 
         หมู่บ้านที่  1  สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่บริเวณนี้ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม   พอถึงเวลาหน้าน้ำหลาก   น้ำก็จะท่วมพื้นที่ในบริเวณนี้ทุกปี  ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกพืชล้มลุกที่เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้นพืชที่นิยมปลูกกันมาก  ได้แก่  พริก  จึงเรียกชื่อหมู่บ้านนี้ว่า  "บ้านพริก"  สืบมา
       หมู่บ้านที่  2  เล่ากันมาว่าแต่เดิมในเวลาเย็นหลังจากเสร็จภารกิจแล้ว  ชาวบ้านส่วนใหญ่มักจะมารวมตัวกันเพื่อพบปะและพูดคุยกันอยู่เสมอบางกลุ่มก็สนุกสนานกับการร้องรำทำเพลง  บางกลุ่มก็นำกลองยาวมาตีร่วมด้วย จึงทำให้เป็นที่มาของหมู่บ้านว่า  "บ้านนกกระจอก"  ต่อมาชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อใหม่และเรียกกันว่า "บ้านบางพิกุล"
         หมู่บ้านที่  3  พื้นที่ของหมู่บ้านตั้งอยู่ติดริมแม่น้ำนครชัยศรี   (แม่น้ำท่าจีน)   ซึ่งบริเวณนั้นจะเป็นฝั่งคุ้งจึงมีปลาอาศัยอยู่อย่างชุกชุม  คนในหมู่บ้านจึงมีอาชีพในการหาปลาเพื่อนำไปขายกันเป็นส่วนใหญ่บางครั้งเมื่อว่างจากงานนาหรืองานสวนก็จะลงข่าย   ทอดแห   ตีอวน  และลงเบ็ดราว  จนคนในหมู่บ้านและบริเวณใกล้เคียง  เรียกหมู่บ้านนี้ว่า  "บ้านปลา"
       หมู่บ้านที่  4  เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่และมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น บริเวณใกล้ริมแม่น้ำมีต้นไทรขนาดใหญ่ขึ้นอยู่จึงทำให้มีบรรยากาศร่มรื่น มีนกกามาอาศัยกันมากมาย  จากร่มเงาของต้นไทร และความชุ่มเย็นของแม่น้ำ  จึงทำให้บริเวณนี้มีคนเข้ามาพักร้อนและได้นัดพบปะพูดคุยกันอยู่เสมอ    อีกทั้งยังมีลานที่กว้างใหญ่จึงนิยมพากันมาเล่นกีฬาพื้นบ้าน เช่น  ลูกช่วง รำแม่ศรี  ลิงลม  และมอญซ่อนผ้า   กันในวันสงกรานต์  ดังนั้นหมู่บ้านนี้จึงได้ชื่อว่า  "บ้านหัวไทร"
       หมู่บ้านที่  5  บริเวณพื้นดินของหมู่บ้านนี้มีเม็ดทรายปะปนอยู่มาก    ในสมัยก่อนจึงนิยมนำทรายจากหมู่บ้านนี้ขนเข้าวัดตามประเพณีการขนทรายเข้าวัด  เช่น  ในวันสงกรานต์  ทรายเหล่านี้จะนำไปสร้างอุโบสถ  วิหาร   หรือสิ่งก่อสร้างต่าง   ภายในวัด  ดังนั้นหมู่บ้านนี้จึงเรียกกันว่า  "บ้านบ่อทราย"
       หมู่บ้านที่  6  เล่าสืบต่อกันมาว่าหมู่บ้านนี้  เดิมมีคนนำวัวมาผูกกิ่งสะแกที่ปักอยู่ประจำ  และได้หักกิ่งของต้นสะแกมาหักแล้วปักลงดินเพื่อใช้ผูกเชือกล่ามวัว       เมื่อทำทุกวันกิ่งสะแกที่ปักอยู่จึงมีมากขึ้นและกลับงอกงามจนกลายเป็นดงสะแก    ชาวบ้านมักเล่ากันว่าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ใกล้จะตกดิน  จะเห็นชายแก่เดินหายไปในดงสะแกอยู่เสมอ     จึงทำให้เชื่อว่าชายแก่คนนี้น่าจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสามารถที่จะช่วยบำบัดทุกข์ต่าง ๆ นานาจึงได้ตั้งศาลขึ้นไว้และมีคนมาบนบานเซ่นไหว้อยู่เสมอต่อมานายองุ่น  พัดเกร็ด  ผู้ใหญ่บ้านได้เห็นผู้คนมากราบไหว้ศาลอยู่เสมอจึงได้ร่วมกันบูรณะศาลขึ้นใหม่ให้ใหญ่โตและสวยงามและพร้อมกันนั้นได้สร้างรูปพ่อแก่หรือพระฤๅษีประดิษฐานอยู่ภายในศาลนั้น    ศาลหลังนี้ชื่อว่า  "ศาลพ่อแก่สะแกทอย"  จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน  "สะแกทอย"  จนถึงทุกวันนี้
2. โครงสร้างพื้นฐาน
    2.1  การคมนาคม  สาธารณูปโภค
-  เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล
   การคมนาคมจากกรุงเทพฯ  สามารถใช้เส้นทางได้  2  เส้นทางที่  1  เส้นทางถนนเพชรเกษม   ผ่านสวนสาพราน  ตำบลหอมเกร็ด   จังหวัดนครปฐม ขึ้นสะพานโพธิ์แก้ว ข้ามแม่น้ำท่าจีนแล้วกลับรถเข้าถนนพุทธมณฑล สาย  7  แล่นไปประมาณ  2  กิโลเมตร ถึงตำบลหอมเกร็ด  เส้นทางที่ 2  ใช้เส้นทางถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี   แล่นข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีนลงสะพานแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพุทธมณฑลสาย  7  เข้าตำบลหอมเกร็ด
-  ระบบสาธารณูปโภค
    2.2 การประปา
   เป็นประปาหมู่บ้าน    และมีหอถังน้ำประปา  คสล.  จำนวน  21  แห่ง
    2.3 การไฟฟ้า
   ทุกหมู่บ้านมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน  100  เปอร์เซ็นต์
    2.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
   มีแม่น้ำท่าจีน เป็นหลัก 1 สาย และคลองจำนวน  12  สาย                   
สภาพทั่วไปของตำบล
                    ตำบลหอมเกร็ดพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำท่าจีนไหลผ่านและ  มีคลองต่างๆ จำนวนหลายสาย เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม




3. โครงสร้างด้านประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น  7,952   คน แยกเป็นชาย   3,775   คน แยกเป็นหญิง  4,177   คน มีความหนาแน่นเฉลี่ย  573  คน/ตารางกิโลเมตร  จำนวนครัวเรือน  3,326   ครัวเรือน
ข้อมูลประชากรของตำบลหอมเกร็ด
หมู่ที่
ครัวเรือน
ชาย
หญิง
รวม
1
189
329
335
648
2
499
508
577
1,085
3
560
884
945
1,829
4
983
1,073
1,150
2,223
5
340
196
317
613
6
1,017
872
994
1,816
รวม
3,552
3,962
4,288
8,552

4.โครงสร้างทางด้านเศรษฐกิจ
4.1 การประกอบอาชีพ
      ตำบลหอมเกร็ดประชากรส่วนใหญ่
-  ประกอบอาชีพหลัก คือ  เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจ  ได้แก่  ส้มโอ  มะพร้าวน้ำหอม  มะม่วง  ฝรั่ง  พันธ์มะพร้าวน้ำหอม
-  ประกอบอาชีพรอง  คือ  ค้าขายและรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม
                      ประชาชนส่วนใหญ่สามารถประกอบอาชีพ ในการเลี้ยงชีพตนเองได้และรายได้ค่อนข้างแน่นอน                
4.2  การประกอบธุรกิจ/อุตสาหกรรม
                -  ปั้มน้ำมัน และก๊าซ                             จำนวน    3    แห่ง
                -  โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก              จำนวน   36   แห่ง
5.  โครงสร้างด้านการศึกษา สังคม และวัฒนธรรม
        5.1  จำนวนโรงเรียน ในตำบลหอมเกร็ด ประกอบด้วย
                1. โรงเรียนประถม   จำนวน   2  แห่ง ได้แก่
                     -   โรงเรียนวัดหอมเกร็ด
                     -   โรงเรียนบ้านหอมเกร็ด
                   2. ศูนย์การเรียนชุมชน  จำนวน  1  แห่ง  ได้แก่
                     -    ศูนย์การเรียนชุมชนศาลพ่อแก่สะแกทอย
                3. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน   จำนวน 1  แห่ง
5.2  วัด ในตำบลหอมเกร็ดมีวัดจำนวน   2  แห่ง  ได้แก่ วัดหอมเกร็ดและวัดมหาสวัสดิ์ มีศาลเจ้า  จำนวน  1  แห่ง
                5.3  สถานีอนามัยตำบล มีจำนวน  2  แห่ง 
สถานพยาบาทเอกชน  จำนวน  3  แห่ง                                              ร้านขายยาแผนปัจจุบัน     จำนวน  1  แห่ง
5.4  แหล่งน้ำธรรมชาติ   มีแม่น้ำ   จำนวน  1  สาย  ลำคลอง จำนวน 12 สาย
        5.5  แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น 
มีบ่อน้ำบาดาล  จำนวน 22 แห่ง 
หอพักน้ำประปา คสล. จำนวน 21 แห่ง
6.  หน่วยงานที่มาจัดฝีกอบรมให้ในชุมชม
        6.1 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหอมเกร็ด  ได้จัดฝึกอบรมเรื่องวิชาชีพระยะสั้น  การจัดทำบัญชี   การจัดทำเวทีประชาคม  การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        6.2 สำนักงานพัฒนาชุมชนและสังคมตำบลหอมเกร็ด  ได้จัดฝึกอบรมทำแผนชุมชน แก้ปัญหาความยากจน  อบรมวิชาชีพ
        6.3 สำนักงานเกษตรตำบลหอมเกร็ด  การจัดทำบัญชีครัวเรือน
        6.4 ที่ว่าการตำบลหอมเกร็ด จัดโครงการแก้ปัญหาความยากจน
7. การจัดตั้งกลุ่มต่างๆในชุมชน
7.1 กลุ่มทำขนมไทย
สถานที่ตั้ง :  48/5   หมู่ที่  3   ต. หอมเกร็ด   อ. สามพราน   จ. นครปฐม
ผู้นำกลุ่ม :  นางเพ็ญจันทร์ มโนเกื้อกูล
                        รายการผลิตภัณฑ์ คือ  ขนมกล้วย
                ประวัติ  กลุ่มขนมไทย ดำเนินการจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2541 มีสมาชิก 15 คน  ดำเนินกิจกรรมในรูปทุนคืนกลุ่มร้อยละ 2  เพื่อให้กลุ่มมีความมั่นคงก้าวหน้า
7.2 กลุ่มเต่าหลากลีลา
สถานที่ตั้ง :  68/1  หมู่ที่  4  ต.หอมเกร็ด  อ. สามพราน    จ. นครปฐม
ผู้นำกลุ่ม :  นายถนอมชัย  จินงี่
                รายการผลิตภัณฑ์  คือ เต่าหลากลีลา (ผอบเต่า)
7.3 กลุ่มใบลานสานศิลป์
สถานที่ตั้ง :  90/219  หมู่ที่  4  ต.หอมเกร็ด  อ.สามพราน    จ. นครปฐม
ผู้นำกลุ่ม :  คุณสายวรุณ  บุริมสิทธิกุล
รายการผลิตภัณฑ์ คือ หัตถกรรมใบลาน
8. กลุ่มในชุมชน
1. กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต
2.กลุ่มเลี้ยงปลา
3.กลุ่มทำดอกไม้จันทน์

ผลิตภัณฑ์  OTOP  ของตำบลหอมเกร็ด   ได้แก่
        1. หัตถกรรมใบลาน              หมู่ที่  4
        2. เต่าหลากลีลา                    หมู่ที่  4
        3. ขนมไทยโบราณ               หมู่ที่  3
        4. ขนมจากมะพร้าวอ่อน         หมู่ที่  4
        5. น้ำมะพร้าว วุ้นมะพร้าว      หมู่ที่ 6
สินค้าOTOP
ผลิต  OTOP  ของตำบลหอมเกร็ด ผลิตภัณฑ์ได้แก่
1ขนมไทยโบราณ
      นางเพ็ญจันทร์  มโนเกื้อกูล  โทร  034-322495  ,  086-8082745

2หัตถกรรมเป่าแก้ว
       นางสาวดวงเดือน   เอี่ยมพิมพันธ์  โทร  034-322475  ,  089-9924400

3โลหะประดิษฐ์
      นายบรรจบ  นิ่มประเสริฐ  โทร  089-4775562  ,  089-4156852

4น้ำพริกแกงและน้ำพริกเผา
      กล่มแม่บ้านบางพิกุล นางพนอ หอมระหัด 68 ม.2 ต.หอมเกร็ด  โทร. 034-393568





                                กศน.อำเภอสามพราน


ปรัชญา (Philosophy)
เรียนรู้ตลอดชีวิต  คิดเป็น เน้นพอเพียง

วิสัยทัศน์ (Vision)
        “ภายในปี พ.ศ. 2558  กศน.อำเภอสามพราน เป็นองค์กรหลักในการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชากรในอำเภอสามพราน  ได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน  เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้  การมีอาชีพอย่างยั่งยืน  ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ (Mission)
1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้มีคุณภาพ
2.  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัย
3.   ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
4.   พัฒนาและส่งเสริมการนำ วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและ
เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการศึกษาตลอดชีวิต
5.  พัฒนาระบบบริหารจัดการ เพื่อให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและ
การศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


 บทบาทและภารกิจของ กศน.ตำบล
๑.   เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของชุมชน (Information Center) รวบรวมและบริการข่าวสารข้อมูล
๒.   เป็นศูนย์สร้างโอกาสการเรียนรู้ของชุมชน(Opportunity Center) จัดบริการเพื่อเสริมสร้างโอกาสการเรียนรู้
๓.  เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน (Learning Center)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน
๔.   เป็นศูนย์ชุมชน (Community Center) ศูนย์รวมการทำกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน
๕.   จัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  เพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิตให้แก่ประชาชนในชุมชน ดังนี้
(1) ส่งเสริมและจัดการศึกษานอกระบบ ได้แก่ การศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา 
     ต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษา
     เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนและจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจ
     พอเพียง
(2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตามอัธยาศัย
(3) ดำเนินการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน
(4) ส่งเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(5) จัดบริการศูนย์ติวเข้มเติมเต็มความรู้
(6) จัดบริการการเรียนรู้โดยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
(7) จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน
(8) จัดกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองด้วยวิถีประชาธิปไตย
(9) ส่งเสริมการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรม
     การเรียนรู้
(10) เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน และศาสนสถานอื่น ใน
       การจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน
(11) ส่งเสริมและสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(12) ส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดยจัดให้มีอาสาสมัคร กศน.
       ห้าสิบหลังคาเรือนต่อหนึ่งคน
(13) กิจกรรมอื่นๆ ตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงศึกษาธิการ
๖.   พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร และแหล่งความรู้ที่หลากหลายได้อย่างทันความต้องการ
๗.   ประสานงานและสร้างภาคีเครือข่าย ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ผู้ทรงคุณวุฒิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนอาสาสมัครต่างๆ  เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๘.   ประสานงานกับศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ในการดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย



ข้อมูลพื้นฐาน กศน.ตำบลหอมเกร็ด
        ประวัติความเป็นมา กศน.ตำบลหอมเกร็ด
        เพื่อให้การดำเนินงานและการจัดกิจกรรมของศูนย์การเรียนชุมชนได้เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ที่พลาดโอกาสและด้อยโอกาสทางการศึกษา  จึงจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชน ศาลพ่อแก่สะแกทอยตำบลหอมเกร็ดขึ้นในตำบล
ด้วยมติคณะรัฐมนตรี  ได้เห็นชอบข้อเสนอการปฎิรูปการศึกษาในทศวรรษที่2(พ.ศ. 2552-2561 )มติมอบหมายให้สำนักงาน  กศน. ปรับบทบาทศูนย์การเรียนชุมชนที่มีความพร้อมเป็นกศน.ตำบลเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้    แก่ประชาชนในชุมชน ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลหอมเกร็ดจึงปรับเปลี่ยนศูนย์การเรียนชุมชนศาลพ่อแก่สะแกทอย   ให้เป็น กศน.ตำบล      หอมเกร็ด  ตั้งแต่   วันที่  17  กันยายน  พ.ศ. 2553 
กศน.ตำบลหอมเกร็ด ตั้งอยู่หมู่ที่ 4  ตำบลหอมเกร็ด  ตำบลหอมเกร็ด  จังหวัดนครปฐม
สภาพทั่วไป ของกศน.ตำบลหอมเกร็ด
1.จำนวนหมู่ที่จะรับบริการ 6 หมู่บ้าน
2.ประชากรทั้งสิ้น  8,552 คน แยกเป็นชาย 3,962 คน หญิง 4,288 คน

2.2  ข้อมูลจำนวนนักศึกษา    กศน.ตำบลหอมเกร็ด

ระดับ
ภาคเรียนที่ 1/2555
ภาคเรียนที่ 2/2555
ชาย
หญิง
รวม
ชาย
หญิง
รวม
หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551






 ระดับประถมศึกษา
1

1
1
1
2
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
13
11
24
10
16
26
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
34
50
84
42
42
84
รวม
57
61
109
53
59
112


คณะกรรมการสถานศึกษา กศน.  ตำบลหอมเกร็ด

ลำดับที่
ชื่อ-นามสกุล
ตำแหน่ง

1.
นายองุ่น         พัดเกร็ด
ประธานกรรมการ
2.
นายประสาร  สวัสดิ์จุ้ย
กรรมการ
3.
นายชูเดช       เกียรติประชา
กรรมการ
4
นายสมศักดิ์    จายะพันธ์
กรรมการ
5.
นางยุพิน         รุ่มนุ่ม
กรรมการ
6.
นางอรวรรณ    แสนสวะ
กรรมการ
7.
นายนพพร       ภาพโพธิ์
กรรมการ
8.
นางสาวจิตรา    เซี่ยงเทศ
กรรมการและเลขานุการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น